กระบวนทรรศน์ทางปรัชญาในหนังสือ การปะทะทางอารยธรรมและการจัดระเบียบโลกใหมของแซมมวล ฮันทิงทัน และความเหมาะสมสําหรับสันติภาพโลกหลังนวยุค
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการทางอารยธรรม และการปะทะทางอารยธรรมในกระบวนทรรศน์ต่าง ๆ 2) วิเคราะห์การปะทะระหว่างอารยธรรมในโลกปัจจุบันผ่านงานเขียนของแซมมวล ฮันทิงทันในหนังสือ การปะทะทางอารยธรรมและการจัดระเบียบโลกใหม่3) สังเคราะห์แนวทางสร้างสันติภาพโลก ด้วยกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลาง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญาแบบวิภาษวิธี (Dialectic) และการแลกเปลี่ยนวิจารณญาณเชิงปรัชญา (Philosophical Discursion) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ แซมมวล ฮันทิงทันผ่านผลงานเขียน เครื่องมือทางปรัชญาที่ใช้ในการวิจัยคือการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการวิธานทางปรัชญาอย่างเป็นระบบ(Philosophical Systemic Analysis, Synthesis and Application)การวิจัยพบว่า 1. โลกได้พัฒนากระบวนทรรศน์และความขัดแย้งมา 5 ยุคแล้ว คือ 1) กระบวนทรรศน์ยุคดึกดำบรรพ์ที่มีความขัดแย้งประปรายระหว่างเผ่า 2) กระบวนทรรศน์ยุคโบราณที่มีการต่อสู้กันในทางปรัชญาทั้งในกรีก จีน และอินเดีย 3) กระบวนทรรศน์ยุคกลางที่เกิดสงครามครูเสดเพื่อแย่งดินแดนศักดิสิทธิ4) กระบวนทรรศน์นวยุคที่ก่อสงครามล่าอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่ 1, 2 และสงครามเย็น 5) กระบวนทรรศน์หลังนวยุคที่มีสงครามกับความยากจนและโรคร้ายเพื่อคุณภาพชีวิต และสงครามเรียกร้องความเป็นธรรมนานาชาติ 2. การปะทะทางอารยธรรมเพราะความแตกต่างทางศาสนาที่ฮันทิงทันแนะนำเป็นกระบวนทรรศน์ยุคกลาง ไม่อาจเป็นไปเพื่อสันติภาพในโลกหลังนวยุคได้ และคำแนะนำที่ว่าให้ประเทศผู้นำสะสมความแข็งแกร่งทางทหาร การเมือง เศรษฐกิจและการจัดการ เพื่อจะได้เป็นผู้นำอารยธรรมและถ่วงดุลอำนาจกันนั้นเป็นกระบวนทรรศน์นวยุค ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสงครามมามากไม่อาจเป็นไปเพื่อสันติภาพในโลกหลังนวยุคได้ 3.กระบานทรรศน์หลังนวยุคสายกลางเป็นระบบปัญญาที่มุ่งพัฒนาอารยธรรมแห่งความสุขแท้ให้แก่มนุษย์ด้วยการพัฒนาปัญญา คุณภาพชีวิตที่ดี ระบบที่ชอบธรรม และสันติภาพโลก ดังสูตรนี้ [ความเจริญ = ปัญญา (คุณภาพชีวิต + ระบบอันชอบธรรม + สันติภาพโลก) สุขแท้] โลกกำลังก้าวเข้าสู่กระบวนทรรศน์ที่ 5 ดังกล่าวนี้The purposes of this research were to study 1) The evolution of civilization and conflicts2) The clash of civilization in the today world through Samuel Huntington's work The Clash of Civilization and the Remaking of World Order 3) Peace building strategies with moderate postmodernism. This research was run through qualitative research methodology with the philosophical techniques of dialectics and discursion. Key informant was Samuel Huntington through his work. The research instruments were philosophical systemic analysis, synthesis and application.The findings were as follow: 1.The world has evolved through five paradigms and conflicts within; they were 1) Primitive paradigm with several conflicts among tribes 2) Ancient paradigm with fights among philosophical ideologies in Greek, China and India 3) Medieval Paradigm with crusade wars, fights for a holy land4)Modern paradigm with colonial war, World War 1 & 2 and cold war 5)Postmodern paradigm with war against poverty and disease for improving quality oflife, and war against unfair system for international just system. 2.The clash of civilization based on religious differences suggested by Huntington was a medieval paradigm concept, not applicablefor world peace in postmodern world. Huntington's suggestion to strengthen military, polity, economy and management in order to lead the world civilization and to balance all powers in order were modern concepts which had already created many wars, not applicable for world peace in postmodern world. 3.The moderate postmodernism was the latest mankind wisdom system aiming to develop civilization of authentic happiness with wisdom development, quality of life, just system and world peace as formulated [Growth = wisdom (QOL + Just System + World Peace) authetic happiness]. The world is developing toward this scenario of postmodern paradigm.